การรู้สารสนเทศดิจิทัล
http://maine.gov/msl/images/digital/newworld.jpg
- การเรียนรู้ดิจิทัล (Digital Literacy) คือ การผนวกกันของทักษะ ความรู้ และความเข้าใจที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้เพื่อที่ จะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และมีความปลอดภัยใน โลกยุคดิจิทัลมากขึ้นทักษะความรู้และความเข้าใจนี้เป็น กุญแจสำคัญที่ควรเป็นองค์ประกอบของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและ มัธยมศึกษา และควรจะผนึกผสานอยู่ในการเรียนการสอน ของทุกรายวิชาทุกระดับชั้น
http://www.itworx.education/wp-content/uploads/2014/12/Teachers_Digital_Literacy.png
ความสำคัญของการรู้ดิจิทัล
http://www.etrainingpedia.com/wp-content/uploads/2015/02/digital-literacy.jpg
เทคโนโลยีให้โอกาสในการเรียนรู้ ทุกคนจะต้องมีความรู้ดิจิทัลเพื่อใช้ประโยชน์สูงสุด
จากโอกาสเหล่านี้ หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าในขณะที่ เยาวชนคนหนุ่มสาว
รู้สึกมั่นใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีนี้ ไม่ได้เป็นสิ่งบ่งบอกถึงสมรรถนะหรือความสามารถ
ที่แท้จริง ในด้านทักษะการคิดวิจารณญาณ เช่น ความ
ตระหนักถึงกลยุทธ์ทางการค้าหรืออคติจากสื่อต่างๆ ตลอดจนความปลอดภัยในการใช้งาน
นอกจากนี้การเรียนรู้ดิจิทัลจะมีผลสำคัญ ต่อสังคมโดยรวม
ต่อความเสมอภาคในการเข้าถึงข้อมูล การบริการและการจ้างงาน การเข้ากลุ่มทางสังคม
และ โอกาสในการเรียนรู้เพิ่มเติม ตลอดจนอาจส่งผลกระทบ ต่อการขยายโอกาสทางธุรกิจ
การพัฒนาการเรียนรู้ดิจิทัลเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของความรู้ความเข้าใจ
ครูทุกคนสามารถนำเสนอมุมมองที่แตกต่างกันในเรื่องวิธีการ ที่เทคโนโลยีสามารถเพิ่มคุณค่าในการเรียนของผู้เรียน
นอกจากนี้ยังช่วยให้ออนไลน์อย่างปลอดภัยหากผู้เรียน
มีความสามารถในการตัดสินใจที่เหมาะสมและมีข้อมูล
เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีที่จะส่งผลกระทบ ต่อ การศึกษาตลอดชีวิต
รวมถึงชีวิตการทำงานในอนาคต
ผลกระทบของการรู้ดิจิทัล
http://www.teachthought.com/wp-content/uploads/2014/05/the-definition-of-digital-literacy-flickering-brad.jpg
ปัญหาที่เกิดขึ้นในยุคดิจิตอลจึงไม่ใช่ปัญหาเรื่องจำนวนข้อมูลที่สืบค้นได้ไม่เพียงพอ
แต่อยู่ที่การพินิจพิเคราะห์ วิเคราะห์ สังเคราะห์ บูรณาการ
ข้อมูลที่สืบค้นมามากมายนั้นและสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
และผู้ที่มีความสามารถเอาชนะปัญหานี้ไปได้ จึงถูกเรียกว่า
เป็นผู้ที่มีความรู้สารสนเทศดิจิตอล (Digital Lite)
- แนวทางและวิธีการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนรู้
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5321600732/amoled-screen-facing_4rfpe_37157.jpg
“เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการศึกษา” คือ
การนำความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารมาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง รูปแบบการเรียนรู้ของมนุษย์
โดยการนำระบบเครื่องมือ สื่อสารต่างๆ เช่น ระบบโทรศัพท์ ระบบโทรทัศน์ เข้ากับ ระบบคอมพิวเตอร์ที่ตอบโต้กับผู้ใช้
ประกอบกับการใช้ แหล่งความรู้ที่หลากหลายจะทำให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้ สิ่งต่างๆ ตามความสนใจ
นอกจากนี้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารยังมีศักยภาพในการลดข้อจำกัด ด้านเวลาและระยะทาง
ส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงเรียนรู้ ข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เทคโนโลยีสารสนเทศยัง
มีความสำคัญต่อการจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูปการศึกษาที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการปฏิรูปการบริหารจัดการ
ที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การปฏิรูปการเรียนรู้
ที่ต้องจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญญา ไม่ใช่การเรียนรู้เพื่อจำข้อมูล
การจำมีความจำเป็นในส่วนที่เป็นพื้นฐานสำคัญ ส่วนข้อมูลควรจะอยู่ในแหล่งเรียนรู้ใด
ๆ และสามารถเรียกใช้ได้ทันท่วงทีเมื่อจำเป็น
และสามารถแสวงหาข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม ทักษะทางด้าน ICT จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการขยายขีดความสามารถในการเรียนรู้ต่อไป
http://www.educationnews.org/wp-content/uploads/2012/11/tech.jpg
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษาได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน
การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ
การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน เช่น
1
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร
- แนวทางการใช้ Digital Devices in Classroom
http://cdn2.hubspot.net/hub/80068/file-19354765-jpg/images/1-to-1.jpg
ในโลกปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่ามีการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล
หรือเทคโนโลยีโมบาย มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการเรียนสอนมากขึ้น เนื่องจากมีความสะดวกสบายในการใช้
และยังสามารถทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับพกพา หรือ Tablet PC ให้นักเรียนใช้แทนหนังสือในรูปแบบเดิมมากขึ้น เพราะ Tablet PC สามารถช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดพิมพ์ตำราเรียนได้
Tablet PC สามารถบรรจุหนังสืออิเลคทรอนิคส์ที่ถูกเก็บไว้ในรูปดิจิตอลได้เป็นจำนวนมาก
โดยนักเรียนสามารถเลือกเล่มไหนขึ้นมาอ่านก่อนก็ได้ อีกทั้งสามารถแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาได้ตลอดเวลา และที่สำคัญ Tablet PC สามารถเชื่อมโยงให้ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อสื่อสารกันผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตได้
ช่วยทำให้ข้อจำกัดเรื่องสถานที่ในการเรียนการสอนหมดไป
http://www.techmoblog.com/uploads/content_images/201210/images_134944470324.jpg
ข้อดี
1. แท็บเล็ตเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาให้กับเด็ก
ๆ
2. ทำให้ครูสามารถเข้าถึงรูปภาพ
วีดิโอคลิป และข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก
เพื่อใช้สร้างบทเรียนที่น่าสนใจให้แก่นักเรียน ทำให้นักเรียนตั้งใจเรียนมากขึ้น
3. เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เด็ก
ๆ ได้ศึกษาวัฒนธรรมต่างแดนผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา
4. ใช้เป็นวิดีโอแชทกับชาวต่างชาติเพื่อฝึกภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องเขินอายเหมือนกับการสื่อสารต่อหน้าจริง
ๆ
5. ทำให้การเรียนเป็นเรื่องสนุกและเข้าใจง่ายขึ้น
แตกต่างจากการเรียนจากหนังสือซึ่งน่าเบื่อและเข้าใจยากกว่า
ข้อเสีย
อาจมีเด็กจำนวนมากติดอินเทอร์เน็ตถึงขั้นที่ต้องพบจิตแพทย์
ดังที่ปรากฏในประเทศเกาหลีใต้ นอกจากนี้ นักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยให้เหตุผลว่า
1. เด็กจะอยู่คนเดียว
เล่นคนเดียว หรือเล่นกับเพื่อนสองสามคน ขาดหรือออกกำลังกายน้อยลง
2. มีปัญหาเรื่องสายตา
กล่าวคือมีปัญหาด้านสุขภาพ
3. เป็นการปูพื้นฐานให้เด็กคุ้นเคยกับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์
ทำให้ผลการเรียนตกต่ำลง เนื่องจากติดเกมส์
อ้างอิง
- http://www.ppk.ac.th/newweb/digital_E-book.pdf
- http://www.csjoy.com/story/net/tne.htm
- http://c4ed.lib.kmutt.ac.th/x-classroom/?p=1016
- https://bemler.wordpress.com/2014/04/17/2-2-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5